Get Adobe Flash player
Home | ตราสัญลักษณ์การจัดการความรู้ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลศรีวิชัย

ตราสัญลักษณ์การจัดการความรู้ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลศรีวิชัย

          ► ตราสัญลักษณ์การจัดการความรู้มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลศรีวิชัย ประกอบไปด้วยอักษรโรมัน (อักษรภาษาอังกฤษ) การออกแบบรูปทรงเป็นอักษรโรมัน และการกำหนดสีเพื่อให้ความหมาย

          ► อักษรโรมันคำย่อ “RUTS” เป็นชื่อย่อภาษาอังกฤษของมหาวิทยาลัยเทคโนโลยี   ราชมงคลศรีวิชัย (Rajamangala University of Technology Srivijaya) โดยมีการกำหนดความหมายเพิ่มเติมของชื่อย่อ ตามแผนยุทธศาสตร์การพัฒนามหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลศรีวิชัย ระยะยาว   20 ปี (พ.ศ.2561 - 2580) ดังนี้
          R = Responsibility : รับผิดชอบต่อตนเอง รับผิดชอบในหน้าที่ เพื่อผลิตนักปฏิบัติมืออาชีพ
          U = Unity : เป็นหนึ่งเดียว กลมเกลียวสามัคคี ทำงานเป็นทีม เสริมกำลัง สร้างความเข้มแข็ง เพื่อยกระดับและเพิ่มขีดความสามารถในการผลิตกำลังคนและสร้างนวัตกรรมเพื่อพัฒนาสังคมอย่างยั่งยืน
          T = Technology and Innovation : ตามทัน พัฒนา ประยุกต์ใช้เทคโนโลยีที่ทันสมัย เป็นเครื่องมือในการบริหารจัดการ การจัดการศึกษาและการสร้างเครือข่าย
          S = Shining Wisdom : รัศมีแห่งปัญญา การสร้างปัญญาด้วยการฝึกฝนและสร้างสรรค์ บนพื้นฐานของความรักและศรัทธา เพื่อให้เกิดนวัตกรรมที่เป็นภูมิปัญญาของคนไทย
          ► สีเหลือง บนอักษรโรมัน S (S = Srivijaya : ศรีวิชัย) เป็นสีประจำมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลศรีวิชัย  สีเหลือง เป็นสีที่แสดงถึงความสว่างรุ่งโรจน์ การประสบความสำเร็จ เป็นสีแห่งความเป็นมงคล ความเจริญรุ่งเรือง

          ► การออกแบบรูปทรงอักษรโรมันคำย่อ “KM” หมายถึง การจัดการความรู้ (Knowledge Management) โดย
          ► สีเทา หมายถึง มิตร ผู้อุปถัมภ์และการเดินทาง แสดงถึงการให้ความสำคัญในการสร้างเครือข่ายการจัดการความรู้ทั้งภายในและภายนอกมหาวิทยาลัย เพื่อส่งเสริมและสนับสนุนการจัดการความรู้ตามกระบวนการอย่างเต็มรูปแบบและประสิทธิภาพ
          ► สีส้ม หมายถึง จิตวิญญาณและความรู้ แสดงถึงวิสัยทัศน์ที่มุ่งสู่ องค์กรแห่งการเรียนรู้ (Learning Organization) เป็นมหาวิทยาลัยที่มีการสร้างช่องทางให้เกิดการถ่ายทอดความรู้ซึ่งกันและกันภายในระหว่างบุคลากร ควบคู่ไปกับการรับความรู้จากภายนอก เป้าประสงค์สำคัญ คือ เอื้อให้เกิดโอกาสในการหาแนวปฏิบัติที่ดีที่สุด (Best Practices) เพื่อนำไปสู่การพัฒนาและสร้างเป็นฐานความรู้ที่เข้มแข็ง (Core competence) ของมหาวิทยาลัย เพื่อให้ทันต่อการเปลี่ยนแปลงของสังคมโลกที่เกิดขึ้นอยู่ตลอดเวลา